ปจ2 ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ หรือ ที่รู้จักกันโดยทั่วไปคือ? มีกี่ประเภท อะไรบ้าง

by admin
1.6K views
ปจ2 ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่

การใช้งาน ปจ2 ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ มักจะพบเห็นได้ทั่วไปในการยก ขนย้ายสิ่งของต่างๆ ทั้งที่มีขนาดเล็กและใหญ่ เช่น การขนย้ายเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกให้เราสามารถเคลื่อนย้ายได้โดยง่าย แต่ในการใช้งานปั้นจั่น ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมกับลักษณะของงาน และต้องคำนึงถึงความปลอดภัยในการทำงานเป็นอันดับแรก เพราะหากผู้ใช้งานไม่มีความรู้ใช้แบบลองผิดลองถูก ก็อาจส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้ ในการทำงานกับปั้นจั่นอย่างปลอดภัย เริ่มต้นจากการเลือกใช้งานให้ตรงตามประเภท เหมาะสมกับลักษณะงานและพื้นที่ใช้งานด้วย

Mobile Crane หรือ ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ คืออะไร

“ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่” หมายความว่า ปั้นจั่นที่ประกอบด้วยอุปกรณ์ควบคุม และเครื่องต้นกำลังอยู่ในตัว ซึ่งติดตั้งอยู่บนยานพาหนะที่ขับเคลื่อนได้ ปั้นจั่นแบบเคลื่อนที่หรือที่เรียกกันว่า Mobile Crane เป็นเครนเคลื่อนที่แบบพื้นฐานที่มีเพียงบูมยืดไสลด์บนแท่นหรืออาจเป็นแบบตัวเครนมาตรฐานซึ่งตามมาตรฐานเครนคือเครื่องจักรสำหรับยกวัตถุที่มีน้ำหนักมากเครื่องจักรประเภทนี้ติดตั้งขดลวดสลิงโซ่และแผงควบคุมข้อได้เปรียบของเครนแบบเคลื่อนที่ได้คือสามารถปรับความยืดหยุ่นในการเข้าถึงไซต์งานและอุปกรณ์ที่ยากต่อการเข้าถึงได้

Mobile Crane ที่นิยมใช้งาน

ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ ที่นิยมใช้งานมี 4 ประเภท ได้แก่ 

Crawler Crane

  • รถเครนตีนตะขาบ (Crawler Crane)

รถเครนตีนตะขาบ เป็นเครนที่มีการเคลื่อนที่ด้วยตีนตะขาบ และส่วนใหญ่มีบูมเป็นแบบบูมสาน (Lattices Boom) เหมาะสมอย่างมากกับการใช้งานในพื้นที่ที่บุกเบิกใหม่ พื้นที่ยังไม่ถูกบดอัด ติดหล่มยาก แต่ไม่เหมาะกับการใช้งานแบบวิ่งต่อเนื่องเป็นระยะทางครั้งละหลายร้อยเมตร เพราะจะทำให้ชุดกลไกของล้อสึกเร็ว

  • รถเครนล้อยาง (All Terrain Cranes)

เครนเคลื่อนที่ชนิดนี้ คือรถบรรทุกล้อยางที่มีเครนอยู่ด้านหลังหรือด้านบน ล้อยางเคลื่อนที่ทุกล้อสามารถเคลื่อนที่บนถนนปกติด้วยความเร็วเหมือนรถบรรทุก สามารถทำงานบนพื้นที่ขรุขระได้ แต้น้อยกว่ารถเครนตีนตะขาบ มีบูมเฟรมเป็นท่อนๆ เคลื่อนที่เข้าออกภายในบูมท่อนแรก  มุมเลี้ยวแคบ ควบคุมให้เคลื่อนที่เข้าพื้นที่กีดขวาง มุมหักศอก และองศาเลี้ยวน้อยๆ ได้ดี จึงทำให้มีความคล่องตัวเป็นพิเศษ 

  • รถเครน 4 ล้อ (Rough Terrain Cranes)

รถเครน 4 ล้อ เป็นรถเครนที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในพื้นที่ขรุขระ ขับเคลื่อน 2 ล้อ หรือ 4 ล้อ ไม่เหมาะสมกับงานที่ระยะทางขับเคลื่อนไกลๆ เนื่องจากไม่สามารถใช้ความเร็วในการขับเคลื่อนได้เท่ากับเครนติดรถบรรทุก ทำงานในพื้นที่บุกเบิกใหม่ได้ หากติดหล่มมีชุดกว้านช่วยเหลือตัวเองได้ แต่ไม่สมบุกสมบันเท่ากับเครนตีนตะขาบ

  • เครนติดรถบรรทุก (Truck Loader Crane)

เครนประเภทนี้เรามักพบเห็นได้บ่อยและคุ้นเคย ซึ่งเครนจะติดตั้งเข้ากับตัวรถบรรทุก ใช้ยกของขึ้นตัวรถบรรทุกที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก มีแบบพับหลัง และแบบปกติ สามารถเดินทางได้ทั้งทางถนนสายหลักและทางหลวง ทำให้สามารถขนสิ่งของจำนวนมากและเข้าถึงสถานที่ต่างๆ ได้หลากหลาย

นอกจากเครนแบบเคลื่อนที่ 4 ประเภทที่นิยมใช้งานแล้วยังมีเครนแบบเคลื่อนที่ประเภทอื่นอีกได้แก่ 

  • เครนยกข้าง (Side Lift) 

เครนยกข้างเป็นเครนเคลื่อนที่อีกประเภทหนึ่งที่สามารถขนส่งวัสดุและยกตู้คอนเทรนเนอร์ขนาดใหญ่ได้ ซึ่งสามารถใช้ยกตู้สินค้าที่มีขนาดใหญ่มากๆ ขึ้นจากพื้นได้ ทำให้มีความยืดหยุ่นเป็นพิเศษ ซึ่งเรามักไม่ค่อยได้พบเห็นกัน

  • เครนรางรถไฟ (Railroad) 

เครนรางรถไฟ ได้รับการออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อให้สามารถเคลื่อนที่ไปตามรางรถไฟได้ ให้สำหรับงานบำรุงรักษาและขนถ่ายสินค้าในตู้รถไฟ ในบางครั้งยังสามารถใช้เครนประเภทนี้ในการปฏิบัติการเก็บกู้เมื่อรถบรรทุกพลิกคว่ำได้อีกด้วย

  • ปั้นจั่นลอยน้ำ (Floating Cranes)

ปั้นจั่นลอยน้ำ นิยมใช้ในการก่อสร้างท่าเรือและสะพานหรือขนถ่ายสินค้าหนักจากท่าเรือ สิ่งเหล่านี้จะถูกติดตั้งบนเรือ หรือที่เราเรียกกันว่าเรือปั้นจั่น

คุณสมบัติและข้อดีของเครนเคลื่อนที่

โดยพื้นฐานแล้ว ตะขอจะถูกแขวนโดยใช้ลวดสลิงจากบูมซึ่งเครนเป็นตัวควบคุม ลวดสลิงจะทำงานจากตัวขับเคลื่อนหลัก
หลายปีผ่านไป มีการผลิตเครนเคลื่อนที่ประเภทต่างๆ ขึ้น ซึ่งแต่ละประเภทมีจุดประสงค์ที่แตกต่างกันและมีข้อได้เปรียบที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเทียบกับเครนที่อยู่กับที่ ข้อดีพื้นฐานของเครนชนิดเคลื่อนที่คือ ง่ายต่อการขนส่ง สามารถรองรับภูมิประเทศได้หลากหลาย

สรุป

ปั้นจั่นแบบเคลื่อนที่ (Mobile Crane) มีหลายประเภทเมื่อต้องใช้งานสิ่งแรกที่ควรคำนึงถึงคือต้องเลือกให้ถูกต้องตรงตามประเภทของการใช้งาน ซึ่งปั้นจั่นทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่หรือปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ต้องได้รับการตรวจเครน และ ทดสอบเครน ตามข้อกำหนดของกฎหมาย โดยเมื่อปั้นจั่นได้รับการทดสอบแล้ว จะมีเอกสาร แบบ ปจ.1 และแบบ ปจ.2 เพื่อรับรองว่าปั้นจั่นนั้นผ่านการทดสอบเครนตามที่กฎหมายกำหนด มีความปลอดภัยพร้อมใช้งาน  และการใช้งานปั้นจั่นทั้งหมด ต้องได้รับการควบคุมโดยผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตรที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น ห้ามผู้ที่ไม่ผ่านการฝึกอบรมใช้งานโดยเด็ดขาด

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  1. กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริการ จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2564
  1. ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอบรมหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น และการอบรมทบทวนการทํางานเกี่ยวกับปั้นจั่น พ.ศ. 2554
  1. ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง แบบการทดสอบปั้นจั่น (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 9 ธันวาคม 2565)

Copyright @2024  All Right Reserved – Designed and Developed by เครนดี.com